วันศุกร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2555

สื่อมวลชนเพื่อการศึกษา



สื่อมวลชนเพื่อการศึกษา

     1.              สื่อมวลชนเพื่อการศึกษามีกี่ประเภทอะไรบ้าง
สื่อมวลชนเพื่อการศึกษามี 6 ประเภท คือ
     1. สิ่งพิมพ์ ได้แก่ หนังสือพิมพ์ วารสาร นิตยสาร หนังสือ และสิ่งตีพิมพ์ประเภทอื่นๆ
     2. ภาพยนตร์ ทั้งภาพยนตร์เรื่อง ภาพยนตร์สารคดี และภาพยนตร์ทางการศึกษาบางประเภท
     3. วิทยุกระจายเสียง ได้แก่วิทยุที่ส่งรายการออกอากาศ ทั้งระบบ AM และ FM รวมไปถึงระบบเสียงตามสาย
     4. วิทยุโทรทัศน์ เป็นสื่อทางภาพและทางเสียงที่เผยแพร่ออกไป ทั้งประเภทออกอากาศและส่งตามสาย
     5. สื่อสารโทรคมนาคม เป็นผลจากความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยี มีการส่งข้อความ เสียง ภาพ ตัวพิมพ์ สัญลักษณ์ต่างๆ ได้หลากหลาย ครอบคลุมกิจการสื่อสารผ่านดาวเทียม โทรภาพ โทรพิมพ์
   6. สื่อวัสดุบันทึก ได้แก่เทปบันทึกเสียง เทปบันทึกภาพ แผ่นบันทึกเสียง แผ่นบันทึกภาพ ซึ่งกลายเป็นสื่อมวลชน เพราะเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าทำให้สามารถผลิตเผยแพร่ได้มากและรวดเร็ว

     2.              คุณค่าของสื่อมวลชนเพื่อการศึกษามีอะไรบ้าง จงอธิบาย
สื่อมวลชนเปรียบเสมือนครู ที่ให้การศึกษาแก่ประชาชนทั้งทางตรงและทางอ้อม ให้ทั้งความรู้ทางวิชาการใหม่ๆ และเจตคติในด้านต่างๆ

     3.              ให้นิสิตยกตัวอย่างสื่อมวลนเพื่อการศึกษามา 1 รายการ พร้อมอธิบายประโยชน์ของรายการนั้น ๆ
นิตยสาร วารสาร และจุลสาร เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ในรูปเล่มของหนังสือที่ออกเผยแพร่เป็นรายสัปดาห์ รายปักษ์ รายเดือน หรือแล้วแต่ระยะเวลา เช่น หนังสือตำรา ประโยชน์ คือ ในเล่มจะประกอบด้วยเนื้อหาตามหลักสูตรการเรียนการสอนโดยอธิบายเนื้อหาวิชาอย่างละเอียด อาจมีภาพถ่ายหรือภาพเขียนประกอบเพื่อเพิ่มความสนใจของผู้เรียน

โทรคมนาคมเพื่อการศึกษา



โทรคมนาคมเพื่อการศึกษา

1.             โทรคมนาคม หมายถึงอะไร และมีประโยชน์ทางการศึกษาอะไรบ้าง
                                                        โทรคมนาคม หมายถึง การส่งสารสนเทศในรูปแบบของตัวอักษร ภาพ เสียงโดยใช้
       กระบวนการที่หลากหลาย ไปยังผู้รับสารที่ต้องการเรียนรู้หรือการจัดการศึกษาในรูปแบบต่าง ๆ
                                                        ประโยชน์ทางการศึกษา  -การสื่อสารผ่านดาวเทียมเพื่อการศึกษา
                                                -การสื่อสารผ่านเคเบิ้ลใยแก้วนำแสง
         
2.             การใช้ Facebook เป็นโทรคมนาคมเพื่อการศึกษาหรือไม่ ถ้าเป็นจงยกตัวอย่าง
ประโยชน์ของ
Facebook
                Facebook ก็สามารถเป็นโทรคมนาคมเพื่อการศึกษาได้  เพราะเป็นการผสมผสานของสัญาณภาพ สัญญาณเสียงและข้อมูลผนวกกับเทคโนโลยีของเครือข่ายและการสื่อสารเพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ที่สามารถโต้ตอบกันในแบบ Real Time ระหว่าง 2 กลุ่ม หรือมากกว่าซึ่งอยู่ห่างไกลกัน และทำให้ผู้ที่ห่างกันสามารถติดต่อสื่อสาร รับข้อมูลข่าวสารกันและกันได้อย่างรวดเร็ว
3.             นิสิตสามารถรับชมโทรทัศน์ทางไกลผ่านดาวเทียมได้ด้วยวิธีทางใดบ้าง
1. ระบบ DSTV เป็นระบบ โทรทัศน์ผ่านจานรับสัญญาณดาวเทียม ในย่านความถี่ KU-Band 
2. ระบบ CATV เป็นระบบ โทรทัศน์ผ่านสายเคเบิล ซึ่งสามารถรับชมได้ ในเขตของ
      กรุงเทพมหานคร และ จังหวัดปริมณฑล แต่สามารถรับชมรายการได้เพียง 7 ช่อง

4.             ประโยชน์ของโทรทัศน์ทางไกลผ่านดาวเทียมมีอะไรบ้าง จงอธิบาย
     ประโยชน์ ของโทรทัศน์ทางไกลผ่านดาวเทียม คือ เป็นการศึกษาที่ไม่เสียค่าใช้จ่ายในด้านเนื้อหาวิชา (Free-Of-Charge Web-Based Information Content) ทั้งในระบบรายการถ่ายทอดสด (Live Broadcast) และระบบรายการตามคำสั่ง (On Demand) ทางเว็บไซต์ของ มูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม และ สถานีวิทยุโทรทัศน์การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม เป็นต้น

5.             นิสิตรับชมรายการจาก http://www.youtube.com/watch?v=OvUsY7oTEQc
         และจงอธิบายถึงประวัติความเป็นมาของสถานีโทรทัศน์ทางไกลผ่านดาวเทียม
         ไทยคม
การส่งสัญญาดาวเทียมไทยคมจากโรงเรียนวังไกลกังวล (หัวหิน) ประจวบคีรีขันธ์ ไปถึงทุกโรงเรียนทั่วประเทศเกิดขึ้นเพื่อสนองพระราชดำริ เพื่อการศึกษามีคุณภาพเท่าเทียมกันทั้งประเทศ และแก้ปัญหา อาทิ เช่น ครูขาดแคลน เกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2538 เพื่อเฉลิมพระเกียรติเนื่องในวโรกาศที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี นอกจากนี้ ครูโรงเรียนไกลกังวนได้ศึกษานอกสถานที่เพื่อถ่ายทอดเป็นความรู้ รายการและได้รับพระราชทานชื่อรายการว่า ศึกษาทัศน์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังทรงได้สอนเรื่องดินและฝนหลวงในรายการศึกษาทัศน์นี้อีกด้วย

                 6.             ให้นิสิต Post รูปภาพเกี่ยวกับโทรคมนาคมเพื่อการศึกษาลงใน Weblog 



เส้นใยนำแสง



วันเสาร์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ศึกษานอกสถานที่ ณ สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล


ศึกษานอกสถานที่ ณ สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา วันที่ 10 กรกฎาคม 2555
คณะศึกษาศาสตร์ สาขาการสอนภาษาอังกฤษและสาขาเทคโนโลยีการศึกษา ภาคพิเศษ ชั้นปีที่ 1


ด้านหน้าสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล

 ขอบคุณวิทยากร





  
นิสิตศึกษาหาความรู้
แผนภาพอาณาจักรสัตว์ทะเล (ทัศนสัญลักษณ์)


ศึกษาตู้อันตรทัศน์


ศึกษา หุ่นจำลอง (ประสบการณ์จำลอง)


ทัศนสัญลักษณ์


ทัศนสัญลักษณ์




หุ่นเต่าทะเล (ประสบการณ์จำลอง)

ตู้อันตรทัศน์

ตู้อันตรทัศน์






สาขาการสอนภาษาอังกฤษและสาขาเทคโนโลยีการศึกษาภาคพิเศษ





วันศุกร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

การใช้เทคโนโลยีการศึกษาในสถานศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา

         การอบรมการใช้สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา มีรายละเอียด ดังนี้

ชั้น 1  เป็นพื้นที่ใช้สอย มีโต๊ะ เก้าอี้เป็นสิ่งอำนวยความสะดวกแก่นิสิต
ชั้น 2  สมัครสมาชิก , ยืม-คืน หนังสือ วิทยานิพนธ์ , ยืมระหว่างห้องสมุด , นำชมห้องสมุด , ฝึกอบรมการ   
          สืบค้น OPAC และฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ , ตอบคำถามและช่วยการค้นคว้า , หนังสือภาษาต่ง   
          ประเทศ , Book Showroom , มุมต่อต้านการค้ามนุษย์ , มุมคุณธรรม
ชั้น 3  หนังสือภาษาไทย ปีพิมพ์ พ.ศ.2541 - ปัจจุบัน , นวนิยาย เรื่องสั้น หนังสือเด็ก , ถ่ายเอกสาร
ชั้น 4  วารสาร หนังสือพิมพ์ จดหมายข่าว , สืบค้นวารสารอิเล็กทรอนิกส์ , ถ่ายเอกสาร
ชั้น 5  วิทยานิพนธ์ หนังสืออ้างอิง หนังสือหายาก , สารสนเทศภาคตะวันออก , ห้องศึกษากลุ่ม/เดี่ยว
ชั้น 6  ยืม-คืน สื่ออิเล็กทรอนิกส์ สื่อโสตทัศน์ , ชุดศึกษาเทปวีดิทัศน์ วีซีดี ซีดีรอม-มัลติมีเดีย เทปเสียง 
          และรายการโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม
ชั้น 7  หนังสือพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี , หนังสือภาษาไทย 
          พิมพ์ก่อน พ.ศ. 2526 - 2540 , หนังสือภาษาต่างประเทศ พิมพ์ก่อน ค.ศ.1970

อบรมการใช้สำนักหอสมุด

บริการอินเทอร์เน็ต ชั้น 6

บริการอินเทอร์เน็ต ชั้น 6










บริการอินเทอร์เน็ต ชั้้น 6


มอบของขวัญให้วิทยากรผู้บรรยาย



ชั้น 5

ชั้น 4

ชั้น 3


ชั้น 2


Showroom หนังสืิอ ต่างๆ



เอกการสอนภาษาอังกฤษ ชั้นปีที่ 1


ชั้น 1

ดังนั้นเทคโนโลยีการศึกษาในสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา มีดังนี้
ชั้น 2  สมัครสมาชิก , ยืม-คืน หนังสือ วิทยานิพนธ์ ,การสืบค้น OPAC และฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
ชั้น 4  สืบค้นวารสารอิเล็กทรอนิกส์
ชั้น 5  สารสนเทศภาคตะวันออก , ห้องศึกษากลุ่ม/เดี่ยว
ชั้น 6  ยืม-คืน สื่ออิเล็กทรอนิกส์ สื่อโสตทัศน์ , ชุดศึกษาเทปวีดิทัศน์ วีซีดี ซีดีรอม-มัลติมีเดีย เทปเสียง 
          และรายการโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม